วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

อาหารภาคเหนือ



             อาหารภาคเหนือ  เป็นอาหารที่มีรสชาติแบบกลางๆ มีรสชาติเค็มเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลยก็ว่าได้   ซึ่งอาหารเหนือเป็นอาหารที่สะท้อนให้ห็นถึงเอกลักษณ์ของคนในภาคเหนือได้เป็นอย่างดี   โดยอาหารเหนือนั้นส่วนใหญ่นิยมรับประทานคู่กับข้าวเหนียวเป็นหลัก นิยมใช้พืชตามธรรมชาติมาปรุงอาหาร  กรรมวิธีในการปรุงอาหารนั้นค่อนข้างจะเรียบง่ายจะนิยมปรุงอาหารให้สุกมากๆ อาหารประเภทผัดหรือต้ม จะปรุงจนกระทั่งผักมีความนุ่ม  รวมถึงการมีเครื่องปรุงเฉพาะภูมิภาค เช่น

  • น้ำปู๋ ซึ่งได้มาจากการเอาปูนา มาโขลกจนละเอียด แล้วนำไปเคี่ยวให้กลายเป็นสีดำ กรองเอาแต่น้ำแล้วอาจใส่สมุนไพรพวกตะไคร้  หรือข่า เพื่อดับกลิ่นคาวของปู จากนั้นเคี่ยวต่อ จนข้น
  • ถั่วเน่าแผ่น ทำจากถั่วเหลืองต้มหมักกับเกลือจนนุ่ม นำไปโม่แล้วละเลงเป็นแผ่น ตากแดดให้แห้งใช้แทนกะปิ ผักและเครื่องเทศที่ใช้ผักเฉพาะถิ่น
         ภาคเหนือมีเครื่องเทศเป็นของประจำถิ่นเอง ส่วนใหญ่จะไม่ใช้กะปิปรุงอาหาร แต่จะใช้เป็นถั่วเน่าแทน จะมีอาหารเฉพาะหลายอย่าง เช่น ข้าวซอยน้ำพริกหนุ่ม แคบหมู เป็นลักษณะเด่นของอาหารทางถาคเหนือแต่คนภาคเหนือก็ยังจะมีพวกปิ้ง



Northern  Food

Northern Foods is taste neutral, a slightly salty taste, sour and sweet a little or tasteless. The Northern foods that reflects the opinion from the identity of the people in the North as well.Mostly of foods usually eaten with sticky rice.Commonly used to Plants using natural cooking.The cooking process is quite simple to popular cooking well-done.Foods, fried or boiled Cook until vegetables are a nun, include condiment endemic. 


  
อาหารแนะนำภาคเหนือ
           

                 ข้าวซอยไก่


                 ข้าวซอยไก่เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีที่มาจากอาหารของชาวมุสลิมโดยชาวจีนฮ่อมุสลิม ซึ่งบางแห่งเรียกชื่อเต็มว่า ข้าวซอยฮ่อ หรือ ข้าวซอยอิสลาม ดังนั้นข้าวซอยจึงใช้เนื้อไก่และเนื้อวัวเป็นส่วนผสม ข้าวซอยปรุงได้ทั้งเนื้อไก่ เนื้อวัว  สำหรับการทำข้าวซอยเนื้อควรหั่นเป็นชิ้นพอคำ ต้มให้เปื่อยก่อน แล้วนำไปเคี่ยวกับเครื่องแกง การเลือกเนื้อไก่ ควรเลือกน่องและสะโพก สำหรับข้าวซอยเนื้อ ควรใช้เนื้อสันคอ

 ส่วนผสม

  •  น่องไก่  1 กิโลกรัม
  •  เส้นข้าวซอย  1/2 กิโลกรัม
  •  น้ำมันพืช  1 ถ้วย กะทิ  3 ถ้วย
  • เครื่องแกง
  • พริกแห้ง 10 เม็ด
  • กระเทียม 10 กลีบ
  • หอมแดง  10 หัว
  • ผิวมะกรูด  1 ลูก
  • กระชาย 5 หัว
  • ขมิ้น 2 ชิ้น 
  • ตะไคร้ซอย  2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ
  • กะปิ 3 ช้อนโต๊ะ
  • ผงกะหรี่  1 ช้อนโต๊ะ
  • เครื่องเคียง
  • พริกป่นผัดน้ำมัน
  • หอมแดง
  • ผักกาดดอง
  • มะนาว
  • ผักชี
  • ต้นหอม

วิธีทำ
1. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
2. ตั้งกะทิประมาณ 1 ถ้วย พอเดือด
3.ใส่เครื่องแกงผัดจนหอม
4. ใส่ผงกะหรี่ละลายน้ำเล็กน้อย
5. ใส่ไก่ ผัดให้เข้ากัน เติมน้ำเล็กน้อย ใส่น้ำตาลปี๊บ แล้วเติมกะทิ เคี่ยวต่อจนไก่นุ่ม
6. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช พอร้อนใส่เส้นข้าวซอยที่คลี่ออกจากกันแล้ว ทอดพอเหลืองกรอบ เพื่อทำเส้นกรอบสำหรับโรยหน้า
7. ลวกเส้นข้าวซอยกับน้ำเดือดประมาณ 1 นาที แล้วนำมาลวกในน้ำเย็น




น้ำพริกอ่อง


            น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้ บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้วจึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตรโขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตรใส่ถั่วเน่าหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส

ส่วนผสม

  • เนื้อหมูบด 400 กรัม
  • มะเขือเทศลูกเล็ก  20 ลูก
  • ผักชีซอย  1 ช้อนโต๊ะ
  • ต้นหอมซอย  1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันพืช  2 ช้อนโต๊ะ
  • เครื่องแกง
  • พริกขี้หนูแห้ง  20 เม็ด
  • หอมแดง  5 หัว
  • กระเทียม 10 กลีบ
  • กะปิ  1 ช้อนโต๊ะ
  • เกลือ 1/2 ช้อนชา

วิธีทำ
1. โขลกพริก หอมแดง กระเทียม รวมกันให้ละเอียด 
2. ใส่กะปิและเกลือ โขลกให้เข้ากัน
3. ผัดเครื่องแกงกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่เนื้อหมูบดลงไป ผัดให้สุก เติมน้ำเล็กน้อย
4. พอเดือด ใส่มะเขือเทศลงไป ผัดให้เข้ากัน ตั้งไฟต่อจนมะเขือเทศสุก ปิดไฟ




ไส้อั่ว

           ไส้อั่ว เป็นไส้กรอกชนิดหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมมากในภาคเหนือของประเทศไทย โดยรับประทานกับข้าวเหนียว มีลักษณะเป็นไส้กรอกวงกลม วางขดกันเป็นก้นหอย ทำมาจากเนื้อหมูคลุกเคล้ากับเครื่องแกง แล้วยัดลงไปในไส้หมู ยัดไว้ข้างใน หรือใส่ไส้นั่นเอง จากนั้นนำไปย่างจนเหลืองสุกและมีกลิ่นหอมของเครื่องแกง สามารถเก็บไว้รับประทานได้หลายวัน  ซึ่งวิธีการทำไส่อั่วก็ไม้ยากเลย 

ส่วนผสม

  • เนื้อหมูติดมันบด 1 กิโลกรัม
  • ไส้หมูไส้เล็ก 300 กรัม
  • ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
  • ผักชีซอย 2 ช้อนโต๊ะ
  • ต้นหอมซอย  2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ซีอิ๊วขาว  1 ช้อนโต๊ะ
  • พริกแห้ง  100 กรัม
  • ขมิ้นหั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ตะไคร้หั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
  • หอมแดงหั่นฝอย  2 ช้อนโต๊ะ
  • กระเทียมหั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ผิวมะกรูดหั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • กะปิ 1 ช้อนชา
  • เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่เป็ด 2 ฟอง 

 วิธีทำ 
1. โขลกพริกแห้งหอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ขมิ้น เกลือ กะปิ และผิวมะกรูด ให้ละเอียดเป็นเครื่องแกง
2. นำเนื้อหมูบดคลุกเคล้ากับเครื่องแกงให้เข้ากัน แล้วปรุงรสตามใจชอบด้วยน้ำตาล และซีอิ๊วขาว
3.เติมไข่เป็ดลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วโรยด้วยใบมะกรูดหั่นฝอย ผักชีฝอย และต้มหอมซอย แล้วคลุกเคล้าอีกครั้ง พักไว้ 30 นาที 
4. ล้างไส้หมูให้สะอาด โดยตัดให้ยาวประมาณ 30 เซนติเมตรแล้วกลับไส้ด้านในออกมาแช่ด้วยน้ำเกลือ แล้วกลับไส้กลับที่เดิม
5. มัดไส้หมูที่ปลายด้านหนึ่ง แล้วกรอกเนื้อหมูผสมเครื่องแกงลงไปในไส้หมูโดยใช้กรวยช่วย อย่าให้แน่นจนเกินไปเพราะไส้อาจจะแตก เสร็จแล้วผูกปลายปิดให้แน่น
6.นำไส้อั่วที่ได้ไปนึ่งประมาณ 20 นาที โดยใช้ไม้แหลมจิ้มเพื่อไล่อากาศด้วย เพราะไส้อาจจะแตกได้ 
7. จุดเตาถ่าน โดยใส่เปลือกมะพร้าวแห้งในเตา ใช้ไฟอ่อน นำไส้อั่วไปย่าง จนไส้อั่วแห้ง มีกลิ่นหอมและเหลืองน้ำตาล
8. พักไว้ให้เย็น แล้วนำมาตัดแบ่งเป็นชิ้นๆพอคำ รับประมานได้ทันทีฃ




แกงอ่อม



              แกงอ่อมหมู นิยมใช้เนื้อหมูและเครื่องในหมูเป็นส่วนผสมหลัก บ้างใช้แต่เครื่องใน เรียก แกงอ่อมเครื่องในหมู มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงเนื้อสัตว์อื่นๆ แกงอ่อม ถือเป็นอาหารชั้นดีอย่างหนึ่งของชาวล้านนา นิยมใช้เลี้ยงแขกในเทศกาลงานเลี้ยงต่างๆ 

ส่วนผสม

  • เนื้อหมูและเครื่องในหมู  300 กรัม
  • ข่าอ่อนซอย 7 แว่น
  • ตะไคร้ซอย 1 ต้น
  • ใบมะกรูดฉีก  5  ใบ
  • รากผักชี   3 ราก
  • ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ผักชีซอย 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • ต้มหอมซอย 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันพืช 1/2 ถ้วย
  • เครื่องแกง
  • พริกแห้ง  7 เม็ด
  • พริกขี้หนูแห้ง 4 เม็ด
  • หอมแดง 3 หัว
  • กระเทียม 20 กลีบ
  • ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ข่าซอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ขมิ้นซอย 1 ช้อนชา
  • เกลือ 1 ช้อนชา
  • กะปิ 1/2 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ
1. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
2. หั่นเนื้อหมูและเครื่องในหมู ขนาดชิ้นพอคำ
3.ผัดเครื่องแกงกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม
4. ใส่เนื้อหมูและเครื่องในลงผัด ใส่ข่า ตะไคร้ รากผักชี ผัดให้เข้ากัน
5. เติมน้ำ เคี่ยวต่อจนเนื้อและเครื่องในนุ่ม ปิดไฟ โรยใบมะกรูด ผักชีต้นหอม ผักชีฝรั่ง






อาหารภาคกลาง






               ภาคกลางเป็นเขตที่ราบลุ่มมีแม่น้ำเหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี จึงถือได้ว่าเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุด ในประเทศไทยสมัยก่อนภาคกลางเป็นศูนย์การค้าขายสำคัญของประเทศไทย มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติต่างๆ เข้ามาด้วย เช่น เครื่องแกง แกงกะทิได้รับมาจากชาวฮินดู อาหารประเภทต้ม ผัด ได้รับมาจากชาวจีนผู้เข้ามาติดต่อค้าขายทางเรือสำเภาแม้กระทั่งขนมหวานที่มีไข่และแป้งเป็นส่วนผสมก็ได้รับการสืบทอดมาจากชาวตะวันตกเช่นเดียวกัน ซึ่งคนไทยได้นำสูตรอาหารต่างๆมาประยุกต์ใช้ทอาหารำรับประทานในครัวเรือน โดยปรับเปลี่ยนวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในประเทศมาใช้แทนกันและเผยแพร่ในเวลาต่อมาจนเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยจวบจนปัจจุบันด้วยความหลากหลายนี้เอง จึงส่งผลให้รสชาติอาหารภาคกลางไม่เน้นหนักไปทางใด ทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม รวมถึงความจัดจ้านของพริก




Central  Food

The region is the river basin suitable for cultivation and animal husbandry.Food abundance throughout the year. It is regarded as the most fertile land in the country.In the past the region was an important center for the country and they have contacted foreign trade such as spices, Coconut Curry received from the Hindus. Boiled, fried foods obtained from Chinese trade visitors came to the brig.Even desserts with eggs and flour as an ingredient have been inherited from the West as well.Thai people who has recipes for various applications are made in the household.By modifying materials that are easily interchangeable and come in later releases. It has become the identity of Thai cuisine, Until now.As a result, the central food is not the central focus of any sour, sweet, salty and spicy pepper.





ลักษณะอาหารภาคกลางมีที่มาต่างๆกันดังนี้
       
             1. ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจากขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอด รับอิทธิพลมาจากตะวันตก เป็นต้น
             2. เป็นอาหารว่างที่มักมีการประดิษฐ์ ทั้งนี้เพราะบรรดาคุณท่านท้าวเธอที่อยู่ในรั้วในวังมีเวลาว่างมากมาย จึงใช้เวลาในการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม
ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก
             3. เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วยหมูหวาน แกงกะทิก็มักแนมด้วยปลาเค็ม สะเดา น้ำปลาหวานก็ต้องคู่กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือแม้กระทั่งไข่เข็มที่มักรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสด หรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแนมอีกมากมายเช่นพวกผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น
             4. เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง ขนมหวานหลากหลายที่ทำจากไข่ แป้งชนิดต่างๆ เช่น แป้งข้าวเหนียว แป้งสาลี แป้งมัน หรือแป้งหลายชนิดรวมกัน เช่น ขนมชั้น ขนมสอดไส้ ขนมเปียกปูน ขนมกง ขนมมุก ขนมลืมกลืน ขนมเต่า เป็นต้น

Various styled of central Food

   1.  Influenced from abroad such as Coconut Curry received from the Hindus,stir the pan and oil from China or KhanomBuang (Thai pancake) adapted from pastry stuffed crispy egg crepe, desserts thong yip and
    thong yod influenced by the West, etc.
   2.    As a snack, often with the invention because the nobility in the palace has a lot of free time. They take creativity to make food taste exquisite such as ChorMuang, Ja monkhood, Rum, Lokchup, Grachoasida, Thongyib or rice in ice water vegetables, fruit carving.
   3.   Food is often a side dishes such as chili eaten with sweet pork, coconut curry eaten with salted fish or  vegetables, sweet fish sauce served with shrimp, steamed or grilled fish,fried fish served with mango sauce.
   4.    A sector with snacks And many desserts such as dessert variety made from eggs.


    
อาหารแนะนำ
                               
                                                             แกงส้มกุ้ง ไข่เจียวชะอม





แกงส้มไข่เจียวชะอมเป็นอาหารภาคกลางที่มีรสชาติจัดจ้าน  ถูกใจคนที่ชอบรสชาติของแกงส้มแต่เป็นแนวใหม่
                  วิธีการทำ
                      1. นำเนื้อปลาไปลวกให้สุกในน้ำร้อน  จากนั้นนำเนื้อปลาออกมาบดให้ละเอียด(ถ้ามีก้าง ก็ให้นำออก)    จากนั้นนำเนื้อปลาไปตำในครกกับน้ำพริกแกงส้มจนเข้ากันดี จึงนำออกมาเตรียมไว้ใช้ในขั้นตอนต่อไป
                      2.   ต้มน้ำในหม้อ รอจนกระทั่งเดือด จึงใส่น้ำพริกแกงส้มที่ผสมกับเนื้อปลา(ขั้นตอนที่1)
รอจนเดือด ปรุงรสด้วยน้ำปลา  น้ำมะขามและน้ำตาล

                      3.  เติมกุ้งและไข่เจียวชะอม (วิธีทำไข่เจียวชะอม ดูด้านล่าง) รอจนแกงส้มเดือดอีกครั้ง จึงปิดไฟ ถ้าชอบเปรี้ยวอาจเติมน้ำมะนาวเพิ่มเติมอีกได้ เมื่อปรุงรสได้ตามที่ต้องการแล้วจึงตักใส่ถ้วยและเสริฟทันทีพร้อมข้าวสวยร้อนๆ

                      ส่วนผสม
  •  กุ้งขนาดกลาง 8-10 ตัว (ทำความสะอาด , ปอกเปลือก)
  • เนื้อปลา 200 กรัม
  • น้ำพริกแกงส้ม      4    ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะขามเปียก     4    ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา                 3     ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาล                 1     ช้อนชา
  • น้ำมะนาว
  • ชะอม                    1     กำ          (ทำไข่เจียวชะอม  จะไม่มีก็ได้)
  • ไข่ไก่                    3     ฟอง       ( ใช้สำหรับทำไข่เจียวชะอม)



                                             ห่อหมกปลาใบโหระพา - ใบยอ  (สูตรโบราณ)






                           ห่อหมกปลาใบโหระพา - ใบยอ  เป็นอาหารภาคกลางรสจัดจ้าน  ไม่แพ้อาหารภาคอื่น มีรสชาติเผ็ดอมเค็มเพราะได้มีการผสมกะทิลงไปด้วย แล้วยังมีกลิ่นหอมๆของใบโหระพาและใบยออีกด้วยนับว่าเป็นอาหารที่น่าลองทานมากจริงๆ 


ส่วนผสม
       

  • น้ำพริกแกง  ประกอบด้วย  พริกชี้ฟ้าแห้ง 5 เม็ด  ข่าหั่น 2 ช้อนชา ตระไคร้ 1 ต้น  กระเทียม 10 กลีบ  หอม 5 หัว ผิวมะกูดฝอย 1/2 ช้อนชา  เกลือ 1 ช้อนชา  กะปิ 1 ช้อนชา  กระชาปลอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 5-6 ราก  รากผักชี 1 ช้อนชา  พริกไทย 5 เม็ด  ตำหรือป่นให้ละเอียด ( น้ำพริกแกงนี้จะใช้แบบสำเร็จรูปก็ได้ )
  • เนื้อปลาช่อน  หรือปลาอินทรี  แล่เป็นชิ้นอย่าให้เล็กมาก 800 กรัม
  • น้ำกะทิ 3 ถ้วย
  • หัวกะทิ 1 ถ้วย
  • แป้งข้าวจ้าว 3 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่ไก่ 2 ฟอง
  •  น้ำปลา  น้ำตาลทราย
  •  ใบโหระพาเด็ดเป็นใบประมาณ 1 ถ้วย ( จะใช้ใบยอ  หรือกระหล่ำปลีก็ได้ )
  •  ใบมะกรูดซอยบาง
  •  พริกชี้ฟ้าแดงหันเป็นเส้น  ใบมะกรูดหั่นเป็นเส้น  สำหรับแต่งหน้า

วิธีการทำ
          
          1. เทน้ำกะทิในข้อ 3 ลงในหม้อ  ใส่พริกแกงที่ตำละเอียดแล้วและแป้งข้าวจ้าวลงไป 2 ช้อน  ใช้ทัพพีคนจนเข้ากันดี
          2. ใส่เนื้อปลาลงในหม้อน้ำกะทิผสมเครื่องแกงและแป้งข้าวจ้าวที่ผสมเตรียมไว้ในข้อ 1 แล้วใช้ทัพพีคนส่วนผสม  เวลาคนควรคนไปในทิศทางเดียวกันเสมอ  อย่างน้อย 10 นาที จะเห็นว่าส่วนผสมเริ่มข้นขึ้น
          3. ตอกไข่ไก่ใส่ลงไปในส่วนผสมแล้วคนต่อไปเรื่อยๆอีกประมาณ 15 นาที  จนส่วนผสมเหนียวข้น
          4. ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลทราย รสชาติตามใจชอบ ( ใช้วิธีตักส่วนผสมนิดหน่อยทำให้สุกแล้วชิมดู )
          5. ใส่ใบมะกรูดซอยบางแล้วคนให้ทั่ว
          6. เตรียมใบโหระพาใส่พาชนะเช่น ชาม หรือ กระทง แล้วแต่สะดวก
          7. ตักเนื้อปลาและส่วนผสมใส่ลงไปในชามหรือในกระทง แล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 15 นาที
          8. ระหว่างรอ ให้ทำกะทิสำหรับหยอดหน้า โดยเอากะทิและแป้งข้าวจ้าว 1 ช้อนโต๊ะ ผสมจนเข้ากัน แล้วนำขึ้นตั้งไฟจนแป้งสุก



ผัดเผ็ดไข่ไก่อ่อ่น





     ส่วนผสม


  • พริกชี้ฟ้าแห้ง                            10 เม็ด
  • รากผักชีโขลก                          1 ช้อนโต๊ะ
  • ข่าโขลก                                   1/2 ช้อนชา
  • ตะไคร้หั่นโขลก                        1 ช้อนโต๊ะ
  • ผิวมะกรูดหั่น                             1 ช้อนชา
  • หอมแดง โขลก                         3 หัว
  • กระเทียมไทยแกะโขลก           2 หัว
  • กะทิ                                          1 ช้อนชา                        
  • เกลือ                                         1/2  ช้อนชา
  • ไข่ไก่อ่อน                                 500  กรัม
  • น้ำตาล                                      1 ช้อนชา
  • น้ำปลาดี                                   2  ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันผัด
  • กะทิ หรือ นมสด
  • ใบโหระพา                                
  • ใบกระเพรา
  • พริกชี้ฟ้า หั่นตามยาว             
  • พริกไทยสด
  • กระชาย
  • มะเขือพวง


           วิธีการทำ
  1. โขลกส่วนน้ำพริกให้ละเอียด
  2. กะทะตั้งไฟ ใส่น้ำมัน ผัดน้ำพริกก่อนพอหอม  ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล หากแห้งไปให้ใส่น้ำหรือน้ำซุปนิดหน่อย ชิมรสพอใจแล้ว ใส่ใบมะกรูด ไข่อ่อนที่ต้มแล้วลงผัดให้เข้ากัน ใส่พริกหั่น โหระพา พริกไทยสด กระเพรา กระชาย มะเขือพวง ผัดกลับไปมาครั้งเดียวปิดไฟ ตักใส่จานเสิร์ฟร้อนๆ


ข้าวคลุกกะปิ





ส่วนผสม
     
  •         ข้าวหอมมะลิที่หุงสุกเม็ดสวยๆ 4 ถ้วย
  •         กระเทียมสับ 5-6 กลีบ
  •         กะปิอย่างดี 4 ช้อนโต๊ะ
  •         น้ำเปล่าหรือน้ำซุป 1/4 ถ้วย
  •         น้ำมันพืชสำหรับผัดข้าว 1-2 ช้อนโต๊ะ
  •         น้ำปลา ( ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ )
  •         น้ำตาลทราย ( ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ )

เครื่องเคียง : ไข่ฝอย กุนเชียง กุ้งแห้ง หอมแดง ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู มะม่วงน้ำดอกไม้ดิบ หมูหวาน 

วิธีการทำ
        
        1. เตรียมเครื่องเคียงตามข้างบน
        2. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช ใช้ไฟอ่อนๆ ใส่กระเทียมเจียวลงไปเจียว พอกระเทียมเริ่มเหลืองก็ให้ใส่กะปิลงไปยีด้วยปลายตะหลิวให้กะปิกระจายไม่เกาะกันเป็นก้อน แล้วก็ผัดๆไปซักพักจนกะปิสุกหรือส่งกลิ่นหอมก็ดี แล้วใส่น้ำซุปหรือน้ำเปล่าลงไปคนให้ละลาย จากนั้นก็ใส่ข้าวสวยลงไปจากนั้นก็ผัดโดยใช้ไฟอ่อน คลุกให้กะปิและข้าวเข้ากันดีเมล็ดข้าวมีสีสม่ำเสมอกัน ชิมดูถ้าจืดก็เติมน้ำปลาลงไปและใส่น้ำตาลทรายลงไปเล็กน้อยถ้าชอบ  เมื่อรสชาติเป็นที่พอใจแล้วปิดไฟตักใส่จานแล้วพักไว้
        3. จัดจาน  เริ่มด้วยอัดข้าวลงพิมพ์ใส่จาน ตกแต่งด้วยเครื่องเคียงที่เตรียมไว้ทั้งหมดลงทีละน้อยให้สวยงาม
        





อาหารภาคอีสาน



           อาหารอีสานมีรสเด่นคือ  ความเค็มจากน้ำปลาร้า  รสเผ็ดจากพริกสดและพริกแห้ง  อาหารอีสานส่วนใหญ่จะมีลักษณะแห้ง  ข้น  มีน้ำแบบขลุกขลิก  และไม่นิยมใส่กะทิ  มีปล้าร้าเป็นส่วนผสมหลักในเกือบทุกเมนู  นิยมทานคู่กับข้าวเหนียวนึ่งและผักพื้นบ้านที่มีตามฤดูการ  ในหมวดหมู่นี้ทางเรา  จึงรวบรวมไว้ซึ่งเมนูอาหารอีสานทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสากลที่ประยุกต์ให้  เข้ากับสมัยปัจจุบัน  สูตรในการทำอาหารภาคอีสาน  เมนูอาหารภาคอีสาน  และมีวิธีการทำอาหารอีสานไว้ให้คุณผู้อ่านได้ศึกษาและศึกษากันหลากหลายเมนู  ล้วนแล้วแต่เป็นเมนูง่ายๆ ที่สามารถทำได้เอง




North-eastern Foods (Isan)


Salty from pickled fish spicy from the chili and dried chili Most of Isan foods look dry and There is little water and not popular added coconut milk.Pickled fish is the main ingredient in almost every menu.Popular, served with steamed rice and vegetables with the season.We have compiled a menu of both traditional Thai dishes and a universal application to the present.There are recipes for you readers of the East and studied menus and it’s the simple menu That can be done by yourself.


ส้มตำหมูยอ




           ส้มตำหมูยอเป็นการดัดแปลง  นำหมูยอมาเป็นส่วนผสมในส้มตำ  เพื่อเพิ่มรสชาติที่แปลกใหม่  และยังได้โปรตีนจากหมูยอเพิ่มอีกด้วย

ส่วนผสม

  • หมูยอลวกสุกหั่นชิ้น  1  ถ้วย
  • พริกขี้หนูสวน  6-7  เม็ด
  • กระเทียมปอกเปลือก  3 กลีบ
  • ถั่วฝักยาวหั่นท่อน  1  ผัก
  • มะเขือเทศ  3-4  ผล
  • กุ้งแห้งอย่างดี  2  ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาว  1-2 ช้อนโต๊ะ
  • น้าปลาดี  2  ช้อนโต๊ะ
  • ถั่วลิสงทอด  2  ช้อนโต๊ะ
  • เส้นมะละกอ  1  ถ้วย



วิธีทำ
1.  ตำพริกขี้หนูกับกระเทียมพอแตก
2.  ใส่มะเขือเทศ  ถั่วฝักยาว  กุ้งแห้งลงไปโขลกคลุกเค้าให้เข้ากัน
3.  ใส่หมูยอลงไป  โขลกคลุกเคล้าให้เข้ากันกับเส้นมะละกอ
4.  ชิมรสตามใจชอบ  เผ็ด  เปรี้ยว  เค็ม  หวาน
5.  ตักใส่จานโรยหน้าด้วยถั่วลิสงทอด  ยกเสิร์ฟพร้อมกับผักสดและข้าวเหนียวร้อนๆได้ทันที


ลาบวุ้นเส้น





           ลาบวุ้นเส้น  เป็นอาหารที่ผสมผสานกันอย่าลงตัวทำให้ได้รสชาติของลาบที่แปลกใหม่ขึ้น  และทำให้เวลาทานมีเท็กเจอร์มากขึ้นอีกด้วย

ส่วนผสม


  • วุ้นเส้น  2  ถ้วย
  • เนื้อหมูสับ  100 กรัม (เจ้าของสูตรเดิม  80  กรัม)
  • เห็ดหูหนูดำหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ  1/2  ถ้วย
  • หอมแดงซอย  4  หัว
  • ข้าวคั่ว  1  1/2  ช้อนโต๊ะ (เจ้าของสูตร 2 ช้อนโต๊ะ)
  • พริกป่น 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • ใบสะระแหน่ตามชอบ
  • ผักชีฝรั่ง  1  ต้น
  • ต้นหอม  2  ต้น
  • มะนาว  2  ลูก  หรือน้ำมะนาวประมาณ  1 1/2-1ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลาดี  1 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย  1  ช้อนชา (อันนี้ใส่เพิ่มจากสูตรเดิม)


วิธีทำ
1.  วุ้นเส้นแช่น้ำจนนิ่ม  ตัดวุ้นเส้นให้สั้นหน่อย  ผักต่างๆเตรียมไว้  ข้าวคั่วทำไว้มีอยู่แล้ว
2.  เนื้อหมูสับรวนกับน้ำเปล่า  พอสุก จากนั้นต้มน้ำ  พอน้ำเดือด  ใส่วุ้นเส้นและเห็ดหูหนูลงไปลวกจนสุกนำขึ้นสะเด็ดน้ำใส่ในชามสำหรับเตรียมยำไว้
3.  ใส่หมูสับที่รวนสุกไว้ลงไป  ตามด้วยเครื่องปรุงต่างๆ  เมื่อได้รสชาติที่ถูกใจแล้วก็ใส่ต้นหอม  ผักชี  ใบสะระแหน่ลงไป  คลุกให้เข้ากันตักใส่จาน


ต้มแซ่บตีนไก่ซุปเปอร์




           ตีนไก่ต้มยำ  เป็นอาหารไทยที่ได้รับความนิยม  เพราะเป็นอาหารที่ทำง่าย  รสชาติที่เผ็ดติดอกติดใจใครหลายๆคนส่วนผสมและขั้นตอนการทำเป็นดังข้างล่าง
ส่วนผสม

  • ตีนไก่  สับเล็บออก  1  กิโลกรัม
  • รากผักชี  กระเทียม  พริกไทย  โขลกละเอียด  2  ช้อนโต๊ะ
  • ข่าแก่หั่นแว่น  5  แว่น
  • ขิงแก่หั่นแว่น  5  แว่น
  • เกลือป่น  2  ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา  น้ำมะนาว
  • ใบผักชีหั่นหยาบ  ใบผักชีฝรั่งหั่นหยาบ
  • พริกขี้หนู


วิธีทำ

1.  ตีนไก่สับเล็บแล้ว  ล้างให้สะอาด  ใส่หม้อ  เทน้ำใส่ให้ท่วม  ใส่เครื่องโขลก  ข่า  ขิง  ลงไป  ตั้งไฟกลางๆจนเดือด  เคี่ยวจนเนื้อไก่เปลื่อย
2.  เอาพริกขี้หนูสับละเอียดๆ  น้ำปลา  น้ำมะนาว  ใบผักชีหั่นหยาบ  ใบผักชีฝรั่งหั่นหยาบใส่ถ้วย  ตักต้มตีนไก่ลงไป  พร้อมเสิร์ฟ


ลาบเห็ดฟาง




           ลาบเพื่อสุขภาพโดยใช้เห็ดฟางเพราะหาง่ายและราคาถูกชนิดอื่นๆ  แต่รสชาติอร่อย หากใครชอบเห็ดชนิดอื่นก็สามารถนำมาใช้แทนเห็ดฟางได้  เช่น  เห็ดนางฟ้า    เห็ดเข็มทอง

ส่วนผสม

  • เห็ดฟางผ่าครึ่ง
  • หอมแดงสับ
  • ผักชีฝรั่ง
  • ข้าวคั่ว
  • ใบสะระแหน่
  • น้ำมะนาว
  • ซีอิ๊วขาว
  • พริกป่น


วิธีทำ
1.  เอาเห็ดฟางไปลวกให้สุก  พักไว้
2.  ปรุงน้ำลาบด้วยการผสม  น้ำมะนาว  ซีอิ๊วขาว  หอมแดงสับ  และพริกป่น
3.  ใส่เห็ดฟาง  ผักชีฝรั่ง  ข้าวคั่ว  ใบสะระแหน่  คลุกเคล้าให้เข้ากัน  ตักใส่จาน












อาหารภาคใต้




     อาหารภาคใต้เป็นอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อนมีรสเค็ม เปรี้ยวแต่จะไม่นิยมรสหวานส่วนในเรื่องสีของอาหารนั้นส่วนใหญ่จะเป็นสีเหลืองจากขมิ้น รสเค็มนั้นจะได้จากกระปิ เกลือ และเนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสชาติที่จัดจ้าน จึงนิยมรับประทานคู่กับผักเคียงหรือผักเหนาะเพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนของอาหาร ในหมวดหมู่นี้ทางเราจึงได้รวบรวมเมนูอาหารใต้ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสากลที่ประยุกต์ให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน





Southern  Food                     

Southern food is hot and spicy food that tastes salty, sour but sweet it not popular.As for the color of the food is mostly yellow from turmeric.Salty paste made from shrimp paste and salt.because Southern food with very bold flavors.Therefore, they served with vegetables, to reduce the spicy food.So, we gather food from the south area to application to the present.




อาหรภาคใต้ที่แนะนำ
  •          คั่วกลิ้งหมูสับใส่สะตอ


         คั่วกลิ้งหมูสับใส่สะตอ   เป็นอาหารประยุคของคนภาคใต้ให้รสชาติที่จัดจ้านไม่แพ้อาหารไหนๆทั้งยังมีกลิ่นของสะตอและขมิ้นอยู่จึงทำให้คั่วกลิ้งหมูสับใส่สะตอเป็นอาหารที่น่ารับประทาน

         วัตถุดิบในการประกอบการทำคั่วกลิ้งหมูสับใส่สะตอ
  • หมูสับ200กรัม
  • เครื่องแกงเผ็ด 2 ช้อนโต๊ะ
  • กะปิ 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • สะตอแกะเฉพาะเม็ด 10 เม็ด
  • พริกขี้หนูสด 5 เม็ด
  • เกลือ 1/2 ช้อนชา
  • ผงชูรสเล็กน้อย
  • น้ำเปล่า 1 ถ้วย
  • ใบมะกูดหั่นฝอย
  • กระเทียมสับ 2 กลีบ 
          วิธีการทำคั่วกลิ้งหมูสับใส่สะตอ
1.นำเครื่องแกงเผ็ดและกะปิมาผสมให้เข้ากันแล้วนำมาคลุกเคล้ากับหมูสับผสมจนเป็นเนื้อเดียวกันหมักทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที
2.นำกระทะตั้งไฟปานกลาง ใส่หมูสับที่เตรียมไว้ลงไปผัด ใส่กระเทียมสับลงไป ผัดไปจนหมูเริ่มสุกแล้วค่อยๆใส่น้ำเปล่าลงไปที่ละนิด เมื่อน้ำเริ่มแห้งก็เติมได้เรื่อยๆ
3.เมื่อผัดจนหมูสุกได้ที่แล้วก็ใส่สะตอลงไป และปรุงรสด้วยเกลือและผงชูรสเล็กน้อย เสร็จแล้วใส่พริกขี้หนูสดและใบมะกรูดหั่นฝอยและปิดไฟยกลงเสิร์ฟพร้อมรับประทาน


         แกงส้มปลากดกับสับปะรด


          แกงส้มสับปะรด เป็นอีกหนึ่งเมนูของภาคใต้ที่น่ารับประทานไม่แพ้อาหารชนิดอื่น เพราะนอกจากได้รสชาติเค็มอมเปรี้ยวของแกงแล้วยังได้รสชาติของสับปะรดมาช่วยทำให้แกงอร่อยขึ้นอีก

          วัตถุดิบในการประกอบการทำแกงส้มปลากดกับสับปะรด

  • ปลากดหั่นเป็นชิ้น 600 กรัม
  • สับประรดหั่นเป็นชิ้น 1 ลูก
  • เครื่องแกงส้ม 2 ช้อนโต๊ะ
  • กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า 3 ถ้วย
  • น้ำมะนาว 4 ลูกใหญ่
  • เกลือ 1/2 ช้อนชา
  • น้ำตาล 1 ช้อนชา
  • ผงชูรสเล็กน้อย

          วิธีทำอาหารแกงส้มปลากดกับสับปะรด
1.ใส่น้ำเปล่าลงในหม้อ นำไปตั้งไฟนำเครื่องแกงส้มและกะปิมาผสมให้เข้ากัน ใส่ลงในหม้อคนจนละลายหมด รอจนเดือด
2.เมื่อน้ำเดือนใส่สับปะรดลงไป เมื่อน้ำเดือดอีกครั้งจึงใส่ปลาลงไป ต้มพอสุก
3.ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว เกลือ น้ำตาลและผงชูรสเล็กน้อย ชิมรสตามใจ เสร็จแล้วยกลงพร้อมเสิร์ฟได้เลย


          แกงไตปลา



            วัตถุดิบในการประกอบการทำแกงไตปลา

  • ปลาย่างแกะเป็นชิ้น 1 ถ้วย
  • เครื่องแกงไตปลา 2 ช้อนโต๊ะ
  • ไตปลา 1 ถ้วย
  • กะปิปลา 1 ถ้วย
  • มะเขือเปราะ 2-3 ลูก
  • ฟักทองหั่นเป็นชิ้น 3-4 ชิ้น
  • มันเทศหั่นเป็นชิ้น 3-4 ชิ้น
  • ใบมะกรูดฉีก 2-3 ใบ
  • เกลือเล็กน้อย
  • ผงชูรสเล็กน้อย
  • น้ำเปล่า 3 ถ้วย

           วิธีทำแกงไตปลา
1.ใส่น้ำเปล่าลงในหม้อตั้งไฟ รอจนน้ำเดือด ใส่กะปิ ปลา และไตปลาลงในกระชอนแล้วนำไปละลายกับน้ำเดือดในหม้อ เสร็จแล้วจึงใส่เครื่องแกงลงไปต้มสักครู่
2.ใส่ปลาย่าง มะเขือเปราะ ฟักทองและมันเทศลงไป ต้มจนผักสุก จึงชิมรสถ้าเค็มได้ที่แล้วก็ไม่ต้องเติมเกลือ ปรุงรสด้วยผงชูรสเล็กน้อย
3.เสร็จแล้วใส่ใบมะกรูดฉีก ปิด ไฟ ยกลงพร้อมเสิร์ฟ  
    

           ข้าวหมกไก่


           วัตถุดิบในการประกอบการทำข้าวหมกไก่

เครื่องเทศข้าวหมกไก่

  • อบเชย
  • กานพลู 6 ดอก
  • เม็ดผักชีป่น 2 ช้อนชา
  • พริกไทย 1 ช้อนชา
  • พริกชี้ฟ้าแดงเม็ดใหญ่
  • กระเทียมซอย 3 ช้อนโต๊ะ
  • ขมิ้น 1 ช้อนชา
  • ผงกะหรี่ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ยี่หร่าป่น 1 ช้อนชา
  • พริกป่น 1/2 ช้อนชา
  • เกลือป่น 2 ช้อนชา
เครื่องปรุงข้าวหมกไก่

  • ข้าวสารเก่า 3 ถ้วยตวง
  • สะโพกไก่ หรือ น่องไก่ 1 กิโลกรัม
  • โยเกิร์ตรสธรรมชาติ 1 ถ้วย
  • เนยจืด 60 กรัม
  • นมข้นจืด 4 ช้อนโต๊ะ
  • หอมแดงเจียว สำหรับโรยหน้า
  • ผักชีเด็ดใบ สำหรับโรยหน้า
  • เครื่องเคียง เช่น แตงกวา ผักกาดหอม
           วิธีทำข้าวหมักไก่
1.ล้างไก่ให้สะอาด สับเป็นชิ้นใหญ่แล้วนำส้อมมาจิ้มให้ทั่ว พักไว้
2.เตรียมเครื่องเทศผงให้พร้อม ด้วยการนำ อบเชยป่น กานพลู กระวาน ลูกผักชีป่น และพริกไทย ลงไปคั่วในกระทะให้หอม จากนั้นนำไปโขลกจนละเอียด ตักใส่ถ้วยพักไว้ แล้วนำพริกชี้ฟ้าแดงและกระเทียมซอยมาโขลกจนละเอียด ผสมกับเครื่องเทศที่โขลกไว้ จากนั้นใส่ พริกป่น เกลือ ขมิ้น ผงกะหรี่ และยี่หร่า
3.ผสมเครื่องปรุงหมักไก่ โดยการนำเครื่องเทศผง ตามด้วยโยเกิร์ต เนยจืด และนมจืดผสมให้เข้ากัน
4.นำสะโพกไก่ น่องไก่ที่เตรียมไว้ไปหมักกับเครื่องปรุงแล้วคลุกเคล้านวดขยำๆเบาๆให้เข้าทิ้งไว้1ชั่วโมง
5.เมื่อไก่หมักได้ที่แล้ว นำกระทะขึ้นตั้งไฟใส่เนยจืดลงไปเล็กน้อย รอจนเนยละลาย ใส่สะโพกไก่ลงไป
6.ให้นำข้าวสารไปซาวน้ำและเทน้ำทิ้งให้หมด แล้วใส่ไก่ที่ทอดไว้แทรกระหว่างข้าว ใส่เครื่องหมักที่เหลือตามลงไป สุดท้ายใส่น้ำเปล่าลงไป
7.ตักข้าวหมกไก่ใส่จาน โรยด้วยหอมเจียว ใบผักชี แล้ววางแตงกวาหั่น ต้นหอมไว้ข้างๆ เสิร์ฟพร้อมกับน้ำจิ้มข้าวหมกไก่