วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

อาหารภาคกลาง






               ภาคกลางเป็นเขตที่ราบลุ่มมีแม่น้ำเหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี จึงถือได้ว่าเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุด ในประเทศไทยสมัยก่อนภาคกลางเป็นศูนย์การค้าขายสำคัญของประเทศไทย มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติต่างๆ เข้ามาด้วย เช่น เครื่องแกง แกงกะทิได้รับมาจากชาวฮินดู อาหารประเภทต้ม ผัด ได้รับมาจากชาวจีนผู้เข้ามาติดต่อค้าขายทางเรือสำเภาแม้กระทั่งขนมหวานที่มีไข่และแป้งเป็นส่วนผสมก็ได้รับการสืบทอดมาจากชาวตะวันตกเช่นเดียวกัน ซึ่งคนไทยได้นำสูตรอาหารต่างๆมาประยุกต์ใช้ทอาหารำรับประทานในครัวเรือน โดยปรับเปลี่ยนวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในประเทศมาใช้แทนกันและเผยแพร่ในเวลาต่อมาจนเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยจวบจนปัจจุบันด้วยความหลากหลายนี้เอง จึงส่งผลให้รสชาติอาหารภาคกลางไม่เน้นหนักไปทางใด ทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม รวมถึงความจัดจ้านของพริก




Central  Food

The region is the river basin suitable for cultivation and animal husbandry.Food abundance throughout the year. It is regarded as the most fertile land in the country.In the past the region was an important center for the country and they have contacted foreign trade such as spices, Coconut Curry received from the Hindus. Boiled, fried foods obtained from Chinese trade visitors came to the brig.Even desserts with eggs and flour as an ingredient have been inherited from the West as well.Thai people who has recipes for various applications are made in the household.By modifying materials that are easily interchangeable and come in later releases. It has become the identity of Thai cuisine, Until now.As a result, the central food is not the central focus of any sour, sweet, salty and spicy pepper.





ลักษณะอาหารภาคกลางมีที่มาต่างๆกันดังนี้
       
             1. ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจากขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอด รับอิทธิพลมาจากตะวันตก เป็นต้น
             2. เป็นอาหารว่างที่มักมีการประดิษฐ์ ทั้งนี้เพราะบรรดาคุณท่านท้าวเธอที่อยู่ในรั้วในวังมีเวลาว่างมากมาย จึงใช้เวลาในการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม
ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก
             3. เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วยหมูหวาน แกงกะทิก็มักแนมด้วยปลาเค็ม สะเดา น้ำปลาหวานก็ต้องคู่กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือแม้กระทั่งไข่เข็มที่มักรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสด หรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแนมอีกมากมายเช่นพวกผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น
             4. เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง ขนมหวานหลากหลายที่ทำจากไข่ แป้งชนิดต่างๆ เช่น แป้งข้าวเหนียว แป้งสาลี แป้งมัน หรือแป้งหลายชนิดรวมกัน เช่น ขนมชั้น ขนมสอดไส้ ขนมเปียกปูน ขนมกง ขนมมุก ขนมลืมกลืน ขนมเต่า เป็นต้น

Various styled of central Food

   1.  Influenced from abroad such as Coconut Curry received from the Hindus,stir the pan and oil from China or KhanomBuang (Thai pancake) adapted from pastry stuffed crispy egg crepe, desserts thong yip and
    thong yod influenced by the West, etc.
   2.    As a snack, often with the invention because the nobility in the palace has a lot of free time. They take creativity to make food taste exquisite such as ChorMuang, Ja monkhood, Rum, Lokchup, Grachoasida, Thongyib or rice in ice water vegetables, fruit carving.
   3.   Food is often a side dishes such as chili eaten with sweet pork, coconut curry eaten with salted fish or  vegetables, sweet fish sauce served with shrimp, steamed or grilled fish,fried fish served with mango sauce.
   4.    A sector with snacks And many desserts such as dessert variety made from eggs.


    
อาหารแนะนำ
                               
                                                             แกงส้มกุ้ง ไข่เจียวชะอม





แกงส้มไข่เจียวชะอมเป็นอาหารภาคกลางที่มีรสชาติจัดจ้าน  ถูกใจคนที่ชอบรสชาติของแกงส้มแต่เป็นแนวใหม่
                  วิธีการทำ
                      1. นำเนื้อปลาไปลวกให้สุกในน้ำร้อน  จากนั้นนำเนื้อปลาออกมาบดให้ละเอียด(ถ้ามีก้าง ก็ให้นำออก)    จากนั้นนำเนื้อปลาไปตำในครกกับน้ำพริกแกงส้มจนเข้ากันดี จึงนำออกมาเตรียมไว้ใช้ในขั้นตอนต่อไป
                      2.   ต้มน้ำในหม้อ รอจนกระทั่งเดือด จึงใส่น้ำพริกแกงส้มที่ผสมกับเนื้อปลา(ขั้นตอนที่1)
รอจนเดือด ปรุงรสด้วยน้ำปลา  น้ำมะขามและน้ำตาล

                      3.  เติมกุ้งและไข่เจียวชะอม (วิธีทำไข่เจียวชะอม ดูด้านล่าง) รอจนแกงส้มเดือดอีกครั้ง จึงปิดไฟ ถ้าชอบเปรี้ยวอาจเติมน้ำมะนาวเพิ่มเติมอีกได้ เมื่อปรุงรสได้ตามที่ต้องการแล้วจึงตักใส่ถ้วยและเสริฟทันทีพร้อมข้าวสวยร้อนๆ

                      ส่วนผสม
  •  กุ้งขนาดกลาง 8-10 ตัว (ทำความสะอาด , ปอกเปลือก)
  • เนื้อปลา 200 กรัม
  • น้ำพริกแกงส้ม      4    ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะขามเปียก     4    ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา                 3     ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาล                 1     ช้อนชา
  • น้ำมะนาว
  • ชะอม                    1     กำ          (ทำไข่เจียวชะอม  จะไม่มีก็ได้)
  • ไข่ไก่                    3     ฟอง       ( ใช้สำหรับทำไข่เจียวชะอม)



                                             ห่อหมกปลาใบโหระพา - ใบยอ  (สูตรโบราณ)






                           ห่อหมกปลาใบโหระพา - ใบยอ  เป็นอาหารภาคกลางรสจัดจ้าน  ไม่แพ้อาหารภาคอื่น มีรสชาติเผ็ดอมเค็มเพราะได้มีการผสมกะทิลงไปด้วย แล้วยังมีกลิ่นหอมๆของใบโหระพาและใบยออีกด้วยนับว่าเป็นอาหารที่น่าลองทานมากจริงๆ 


ส่วนผสม
       

  • น้ำพริกแกง  ประกอบด้วย  พริกชี้ฟ้าแห้ง 5 เม็ด  ข่าหั่น 2 ช้อนชา ตระไคร้ 1 ต้น  กระเทียม 10 กลีบ  หอม 5 หัว ผิวมะกูดฝอย 1/2 ช้อนชา  เกลือ 1 ช้อนชา  กะปิ 1 ช้อนชา  กระชาปลอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 5-6 ราก  รากผักชี 1 ช้อนชา  พริกไทย 5 เม็ด  ตำหรือป่นให้ละเอียด ( น้ำพริกแกงนี้จะใช้แบบสำเร็จรูปก็ได้ )
  • เนื้อปลาช่อน  หรือปลาอินทรี  แล่เป็นชิ้นอย่าให้เล็กมาก 800 กรัม
  • น้ำกะทิ 3 ถ้วย
  • หัวกะทิ 1 ถ้วย
  • แป้งข้าวจ้าว 3 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่ไก่ 2 ฟอง
  •  น้ำปลา  น้ำตาลทราย
  •  ใบโหระพาเด็ดเป็นใบประมาณ 1 ถ้วย ( จะใช้ใบยอ  หรือกระหล่ำปลีก็ได้ )
  •  ใบมะกรูดซอยบาง
  •  พริกชี้ฟ้าแดงหันเป็นเส้น  ใบมะกรูดหั่นเป็นเส้น  สำหรับแต่งหน้า

วิธีการทำ
          
          1. เทน้ำกะทิในข้อ 3 ลงในหม้อ  ใส่พริกแกงที่ตำละเอียดแล้วและแป้งข้าวจ้าวลงไป 2 ช้อน  ใช้ทัพพีคนจนเข้ากันดี
          2. ใส่เนื้อปลาลงในหม้อน้ำกะทิผสมเครื่องแกงและแป้งข้าวจ้าวที่ผสมเตรียมไว้ในข้อ 1 แล้วใช้ทัพพีคนส่วนผสม  เวลาคนควรคนไปในทิศทางเดียวกันเสมอ  อย่างน้อย 10 นาที จะเห็นว่าส่วนผสมเริ่มข้นขึ้น
          3. ตอกไข่ไก่ใส่ลงไปในส่วนผสมแล้วคนต่อไปเรื่อยๆอีกประมาณ 15 นาที  จนส่วนผสมเหนียวข้น
          4. ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลทราย รสชาติตามใจชอบ ( ใช้วิธีตักส่วนผสมนิดหน่อยทำให้สุกแล้วชิมดู )
          5. ใส่ใบมะกรูดซอยบางแล้วคนให้ทั่ว
          6. เตรียมใบโหระพาใส่พาชนะเช่น ชาม หรือ กระทง แล้วแต่สะดวก
          7. ตักเนื้อปลาและส่วนผสมใส่ลงไปในชามหรือในกระทง แล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 15 นาที
          8. ระหว่างรอ ให้ทำกะทิสำหรับหยอดหน้า โดยเอากะทิและแป้งข้าวจ้าว 1 ช้อนโต๊ะ ผสมจนเข้ากัน แล้วนำขึ้นตั้งไฟจนแป้งสุก



ผัดเผ็ดไข่ไก่อ่อ่น





     ส่วนผสม


  • พริกชี้ฟ้าแห้ง                            10 เม็ด
  • รากผักชีโขลก                          1 ช้อนโต๊ะ
  • ข่าโขลก                                   1/2 ช้อนชา
  • ตะไคร้หั่นโขลก                        1 ช้อนโต๊ะ
  • ผิวมะกรูดหั่น                             1 ช้อนชา
  • หอมแดง โขลก                         3 หัว
  • กระเทียมไทยแกะโขลก           2 หัว
  • กะทิ                                          1 ช้อนชา                        
  • เกลือ                                         1/2  ช้อนชา
  • ไข่ไก่อ่อน                                 500  กรัม
  • น้ำตาล                                      1 ช้อนชา
  • น้ำปลาดี                                   2  ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันผัด
  • กะทิ หรือ นมสด
  • ใบโหระพา                                
  • ใบกระเพรา
  • พริกชี้ฟ้า หั่นตามยาว             
  • พริกไทยสด
  • กระชาย
  • มะเขือพวง


           วิธีการทำ
  1. โขลกส่วนน้ำพริกให้ละเอียด
  2. กะทะตั้งไฟ ใส่น้ำมัน ผัดน้ำพริกก่อนพอหอม  ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล หากแห้งไปให้ใส่น้ำหรือน้ำซุปนิดหน่อย ชิมรสพอใจแล้ว ใส่ใบมะกรูด ไข่อ่อนที่ต้มแล้วลงผัดให้เข้ากัน ใส่พริกหั่น โหระพา พริกไทยสด กระเพรา กระชาย มะเขือพวง ผัดกลับไปมาครั้งเดียวปิดไฟ ตักใส่จานเสิร์ฟร้อนๆ


ข้าวคลุกกะปิ





ส่วนผสม
     
  •         ข้าวหอมมะลิที่หุงสุกเม็ดสวยๆ 4 ถ้วย
  •         กระเทียมสับ 5-6 กลีบ
  •         กะปิอย่างดี 4 ช้อนโต๊ะ
  •         น้ำเปล่าหรือน้ำซุป 1/4 ถ้วย
  •         น้ำมันพืชสำหรับผัดข้าว 1-2 ช้อนโต๊ะ
  •         น้ำปลา ( ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ )
  •         น้ำตาลทราย ( ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ )

เครื่องเคียง : ไข่ฝอย กุนเชียง กุ้งแห้ง หอมแดง ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู มะม่วงน้ำดอกไม้ดิบ หมูหวาน 

วิธีการทำ
        
        1. เตรียมเครื่องเคียงตามข้างบน
        2. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช ใช้ไฟอ่อนๆ ใส่กระเทียมเจียวลงไปเจียว พอกระเทียมเริ่มเหลืองก็ให้ใส่กะปิลงไปยีด้วยปลายตะหลิวให้กะปิกระจายไม่เกาะกันเป็นก้อน แล้วก็ผัดๆไปซักพักจนกะปิสุกหรือส่งกลิ่นหอมก็ดี แล้วใส่น้ำซุปหรือน้ำเปล่าลงไปคนให้ละลาย จากนั้นก็ใส่ข้าวสวยลงไปจากนั้นก็ผัดโดยใช้ไฟอ่อน คลุกให้กะปิและข้าวเข้ากันดีเมล็ดข้าวมีสีสม่ำเสมอกัน ชิมดูถ้าจืดก็เติมน้ำปลาลงไปและใส่น้ำตาลทรายลงไปเล็กน้อยถ้าชอบ  เมื่อรสชาติเป็นที่พอใจแล้วปิดไฟตักใส่จานแล้วพักไว้
        3. จัดจาน  เริ่มด้วยอัดข้าวลงพิมพ์ใส่จาน ตกแต่งด้วยเครื่องเคียงที่เตรียมไว้ทั้งหมดลงทีละน้อยให้สวยงาม